พลาสติกคืออะไร  มีกี่ประเภท ครบจบในโพสต์เดียว!

ประเภทพลาสติก

พลาสติกคืออะไร  มีกี่ประเภท ครบจบในโพสต์เดียว!

บทความนี้เราจะพาไปรู้จัก “พลาสติก” กันอย่างครบทุกซอกมุม ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้เลย!

“พลาสติก” (Plastic) คืออะไร?

คำว่า พลาสติก เป็นคำกว้างๆที่เราใช้เรียกวัสดุสังเคราะห์ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายสุดๆ ทั้งของที่มีลักษณะแข็งไปจนถึงยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม ทั้งถุงพลาสติกที่มีความหนาไม่ถึงหนึ่งมิลลิเมตรไปจนถึงของที่หนาหนักจนรองรับน้ำหนักได้เป็นร้อยกิโลกรัม ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็จะเจอพลาสติกเป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ของเรา เราใช้กล่องพลาสติกทนความร้อนไว้ใส่อาหารเก็บ จากนั้นนำมันเข้าไมโครเวฟ หากรับประทานไม่หมดก็เพียงปิดฝาและนำเข้าตู้เย็นเก็บไว้ในวันต่อๆไป เราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมดด้วยกล่องพลาสติกกล่องเดียว

แถมเรายังสามารถพบพลาสติกได้ในเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของรถยนต์ที่เรานั่ง หรือกระทั่งในเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ต่างๆที่เราได้รับประโยชน์ก็มีส่วนประกอบของพลาสติกด้วยเช่นกัน 

พลาสติกคืออะไร

นี่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้พลาสติกเป็นวัสดุมหัศจรรย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ชีวิตของเราสะดวกสบาย ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้พลาสติกและกระบวนการจัดการพลาสติกไม่ใช้แล้วก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายกำลังให้ความสนใจและร่วมกันหาหนทางที่เราจะดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของโลกของพวกเราใบนี้ในขณะที่เราก้าวไปข้างหน้าได้ด้วย

หากทำความเข้าใจจริงๆแล้ว พลาสติก ก็เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเช่นเดียวกับไม้ กระดาษ หรือขนสัตว์ เพราะมันทำมาจากการนำสารประกอบอินทรีย์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาเพื่อใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ยางไม้ เป็นต้น

1. ประวัติศาสตร์อันยาวนาน: 100 ปีแห่งนวัตกรรม “พลาสติก”

คำว่า Plastic มาจากศัพท์กรีก Plastikos ซึ่งแปลว่าเหมาะกับการขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ ซึ่งเป็นคำที่อธิบายคุณสมบัติพิเศษของพลาสติกคือความยืดหยุ่นและความสามารถในการเปลี่ยนรูปทรงได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัตินี้ ทำให้พลาสติกสามารถนำไปกด ยืด อัด และขึ้นรูปได้มากมายหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก ไฟเบอร์พลาสติก แผ่นจานพลาสติก ท่อ ขวด กล่อง และรูปทรงอื่นๆอีกเท่าที่เราจะจินตนาการได้

ไมตรีแบ่งปัน

รู้หรือไม่ว่าพลาสติกนั้นมีอายุมากกว่าพวกเราอีก! พลาสติกเป็นวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติหรือที่เราเรียกกันว่าสารประกอบอินทรีย์ คล้ายกับ แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน แร่ธาตุ และพืชต่างๆ พลาสติกเวอร์ชั่นแรกๆเป็นวัสดุที่ถูกค้นพบเมื่อราว 150 ปีก่อนและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหนึ่งในร่างแรกของพลาสติกก็คือ “ยาง” จากต้นยางที่เรากรีดกันที่ภาคใต้นั่นเองค่ะ!  

[/message_box]

ฉีดพลาสติก

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แล้วที่มนุษยชาติเสาะหาวิธีการที่จะพัฒนาวัสดุที่จะให้ประโยชน์ที่แตกต่างจากวัสดุทางธรรมชาติ เมื่อเราย้อนกลับไปในยุคสมัยแรก ความต้องการในการผลิตพลาสติกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีจุดประสงค์ในการนำมาทดแทนวัสดุและวัตถุดิบทางธรรมชาติหายากและอาจหมดไปได้ เช่น งาช้าง และ กระดองเต่า เป็นต้น การพัฒนานวัตกรรมทางพลาสติกเริ่มต้นจากการใช้วัสดุทางธรรมชาติที่มีคุณสมบัติโดยเนื้อแท้ที่มีความเป็นพลาสติก เช่น ครั่ง หรือ หมากฝรั่ง 

วิวัฒนาการของพลาสติก

พลาสติกมีวิวัฒนาการต่อมาคือการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุทางธรรมชาติ เช่น ยาง ไนโตรเซลลูโลส และ คอลลาเจน พลาสติกสังเคราะห์ในยุคแรกนั้นทำมาจากเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งเป็นสารที่ถูกพบได้ในพืชและต้นไม้ เซลลูโลสจะได้รับความร้อนผสมกับสารประกอบทางเคมี ท้ายที่สุดจะได้ผลลัพธ์เป็นวัสดุใหม่ที่มีความทนทานอย่างมหาศาล ท้ายที่สุดแล้ววัสดุพลาสติกสังเคราะห์ที่เราคุ้นเคยในฐานะพลาสติกในยุคใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นราวหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง

  • หนึ่งในตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของพลาสติกถูกสร้างขึ้นโดย Alexander Parkes ในปี 1855 ผู้ตั้งชื่อนวัตกรรมพลาสติกของเขาว่า เซลลูลอยด์ (Celluloid) นั่นเอง
  • โพลีไวนิลคลอไรด์ หรือ พีวีซี (Polyvinyl Chloride; PVC) เป็นโพลีเมอร์ตัวแรกสุดที่ถูกสร้างขึ้นในปี 1838 – 1872
  • การทะลุทะลวงทางนวัตกรรมเกิดขึ้นในปี 1907 นักเคมีชาวเบลเยียม-อเมริกันชื่อ Leo Baekeland สร้าง Bakelite ซึ่งเป็นพลาสติกสังเคราะห์ที่ผลิตโดยกรรมวิธีการผลิตจำนวนมาก (mass production)
รับฉีดขึ้นรูปพลาสติก
ตัวอย่างชิ้นงานพลาสติกจาก injection molding

ตั้งแต่นวัตกรรมของ Baekeland เกิดขึ้นมาวงการพลาสติก็เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังคงพัฒนาอยู่ และพวกเราก็หวังว่านวัตกรรมทางวัสดุศาสตร์นี้จะนำมาซึ่งประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และโลกใบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้ วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตพลาสติกที่เราใช้ในชีวิตประจำวันนั้นมาจากหลากหลายแหล่งที่มา อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วพลาสติกจะทำมาจากไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbons) ที่มีอยู่ในแก๊สธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินนั่นเอง ในส่วนถัดไปเราจะลงลึกถึงคุณสมบัติทางเคมีเพื่อให้เข้าใจ “พลาสติก” มากยิ่งขึ้นค่ะ

2. คุณสมบัติทางเคมีของพลาสติก

เมื่อพูดถึงคุณสมบัติทางเคมีของพลาสติกเราอาจจะเบ้ปากเพราะคิดว่ามันจะต้องมีโครงสร้างที่ซับซ้อนเข้าใจยากสุดๆ ซึ่งถึงแม้ว่าคุณสมบัติทางเคมีของมันอาจอธิบายได้ไม่ง่ายนัก แต่พื้นฐานของพลาสติกค่อนข้างตรงไปตรงมาเลยทีเดียว ลองคิดย้อนกลับไปถึงตอนเราเรียนบทเรียนเกี่ยวกับอะตอมและโมเลกุลในคาบวิทยาศาสตร์สมัยมัธยมดู โมเลกุลก็คือการรวมตัวกันของหลายๆอะตอม 

  • พลาสติกก็เป็นสายโซ่ที่มีหลายๆโมเลกุลเรียกว่าโมโนเมอร์ (Monomer) ที่เชื่อมกันและกันอยู่ 
  • สายโซ่เหล่านี้จึงถูกเรียกว่าโพลีเมอร์ (Polymer) นี่เป็นเหตุผลที่พลาสติกหลายประเภทมักขึ้นต้นด้วยคำว่า “Poly” เช่น polyethylene หรือ PE (โพลีเอทิลีน)  polystyrene หรือ PS (โพลีสไตรีน) และ polypropylene หรือ PP (โพลีพรอเพลีน) เป็นต้น 
  • โพลีเมอร์ (Polymers) นั้นมักมีส่วนประกอบเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน บางครั้งก็ผสมด้วยอ็อกซิเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ คลอรีน ฟลูออรีน ฟอสฟอรัส และ ซิลิโคนด้วย เราต้องไม่ลืมอย่างหนึ่งคือพลาสติกเป็นสายโซ่โพลีเมอร์ก็จริง แต่ไม่ใช่โพลีเมอร์ทุกชนิดจะเป็นพลาสติกนั่นเองค่ะ

คุณสมบัติของพลาสติก

เอาพลาสติกไปใช้ยังไง?

เมื่อเรารู้จักพลาสติกเบื้องต้นแล้ว คำถามต่อไปคือเราจะเอาพลาสติกไปใช้ยังไงได้บ้าง?

ไมตรีแบ่งปัน

พลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่าง “หลากหลาย” ที่สุด พลาสติกจึงเป็นวัสดุในอุดมคติที่ถูกเลือกใช้ในทั้งตลาดผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรม คุณสมบัติที่มีความหนาแน่นต่ำ (low density) ของพลาสติกส่วนใหญ่ทำให้พลาสติกเป็นวัสดุที่มีข้อได้เปรียบหนึ่งที่เป็นที่ต้องการคือ “มีน้ำหนักเบา” นอกจากนี้ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วพลาสติกจะมีความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อนและฉนวนไฟฟ้าที่ดี ในทางกลับกันพลาสติกบางประเภทก็มีความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้าได้เช่นกันถ้าต้องการ เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นมากที่สุดแบบหนึ่งเลยค่ะ 

[/message_box]

สรุปคุณสมบัติเจ๋งๆของพลาสติก

  • มีความหนาแน่นต่ำ (low density) ทำให้พลาสติกเป็นวัสดุที่มีข้อได้เปรียบหนึ่งที่เป็นที่ต้องการคือ “มีน้ำหนักเบา” 
  • ทนต่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำได้มากๆ
  • นำกระแสไฟฟ้าได้ (บางประเภท)
  • ทนต่อการกัดกร่อนจากสารที่สามารถทำลายวัสดุประเภทอื่นๆ (corrosion resistant) ส่งผลให้พลาสติกมีความทนทานและเหมาะสมสำหรับการใช้งานอย่างหนัก หรือในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย เช่น สภาพอากาศที่รุนแรง 
  • มีความยืดหยุ่น ขึ้นรูปจากการเป็นของเหลวทำให้สามารถทำเป็นรูปทรงที่ซับซ้อนได้ ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้สามารถนำวัสดุประเภทอื่นมาประกอบเป็นชิ้นงานร่วมกับพลาสติกได้ 

โดยหลักการแล้ว พลาสติกสามารถถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติในการตอบโจทย์ของการประยุกต์ใช้ได้แทบทุกอย่างเลยทีเดียว ด้วยความสามารถและคุณสมบัติอันน่าสนใจนี้พลาสติกจึงถูกนำไปประยุกต์ใช้กับกรณีเหล่านี้ เป็นต้น

ในส่วนถัดไปเราจะมาเจาะลึกถึงคุณสมบัติต่างๆของพลาสติกกันในส่วนถัดไปนี้กันเพื่อที่เราจะสามารถจินตนาการได้ว่าจะนำพลาสติกไปใช้อย่างไรได้บ้าง

KEY: คุณสมบัติของพลาสติกแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของมัน (chemical composition) การเรียงตัวของหน่วยย่อยภายในโครงสร้างทางเคมีของมัน และสุดท้ายคือกระบวนการผลิตนั่นเอง เราอาจสังเกตคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดได้จากรูปลักษณ์ภายนอกของมัน

โรงงานพลาสติก

ขอยกตัวอย่างง่ายๆตามนี้เลยค่ะ

  • โพลีเมอร์ที่พื้นผิวมีความเงา (glassy polymers) มีแนวโน้มที่จะแข็งเปราะ เช่น โพลีสไตรีน หรือ PS นิยมนำมาทำผลิตภัณฑ์ที่มีความใส วาว อย่างไรก็ตามเรายังสามารถผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกจากโพลีเมอร์แบบนี้ได้ด้วย เช่น โพลีเอธีลีน เป็นต้น
  • โพลีเมอร์ที่มีผิวด้าน มีแนวโน้มที่จะมีความแข็งเหนียวและยืดหยุ่นกว่า ตกไม่แตก เช่น โพลีโพรเพลีน หรือ PP ซึ่งนิยมนำมาทำเป็นกล่องเก็บอาหาร ถ้วยใส่ขนม กระถางต้นไม้ และผลิตภัณฑ์อีกมากมาย

ในส่วนถัดไปเราจะมาดูประเภทของพลาสติกที่เราน่าจะเริ่มคุ้นเคยกันบ้าง เพื่อให้ความเข้าใจของเราครบถ้วนขึ้นค่ะ

ประเภทของพลาสติก

ถ้าให้พูดพลาสติกทั้งหมดทีละประเภทไปเรื่อยๆเราอาจจะมึนได้! ดังนั้นวันนี้เราจะมาแบ่งพลาสติกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามคุณสมบัติทางด้านความร้อนก่อนค่ะ อย่างที่เรารู้กันแล้วว่าพลาสติกนั้นเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาเพื่อใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติ พลาสติกบางประเภทจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เช่น เมื่ออยู่ในอากาศเย็นก็จะเกิดการแข็งตัว หากสัมผัสถูกความร้อนก็จะอ่อนตัว แต่บางประเภทก็จะมีความแข็งตัวอย่างถาวรเลย ดังนั้นเราควรจะเลือกใช้พลาสติกให้เหมาะสมกับฟังก์ชั่นการใช้งานและสภาพแวดล้อมที่มันจะเจอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด เราไปทำความรู้จักประเภทของพลาสติกเพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการใช้งานเม็ดพลาสติกให้ถูกต้องกัน

เราแบ่งพลาสติกตามคุณสมบัติทางด้านความร้อนได้ 2 ประเภทหลัก คือ 

(1) เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) 

(2) เทอร์โมเซ็ตติ้ง (Thermosetting) 

ประเภทที่ 1: “อ่อนเมื่อร้อน” เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) 

ลองจินตนาการว่าเราไปซื้อไอติมข้างทางรับประทานในวันที่อากาศร้อนสุดๆ..

ไอติม พลาสติก

พอหยิบไอติมออกมากินไปได้สักพักไอติมก็จะเกิดอาการละลาย เราเลยบอกลุงว่าขอเอาไอติมกลับไปแช่นะครับ พอนำกลับไปเจอไอเย็นของตู้แช่ไอติมก็กลับมาแข็งตัวเช่นเดิม เทอร์โมพลาสติกก็เป็นแบบนั้นคือเปลี่ยนแปลงรูปได้ตามอุณหภูมิ มันจะอ่อนตัวเมื่อสัมผัสความร้อนและแข็งตัวเมื่อสัมผัสอากาศเย็น โครงสร้างทางเคมีของเทอร์โมพลาสติกมีโครงสร้างโมเลกุลเป็นลักษณะโซ่ตรง ซึ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างโพลิเมอร์ที่เป็นหน่วยย่อยค่อนข้างน้อยมากทำให้มีความสามารถในการหลอมเหลว

อย่างไรก็ตามแม้จะผ่านแรงอัดมากโครงสร้างเดิมของมันก็จะไม่ถูกทำลายเช่นกัน ดังนั้นเม็ดพลาสติกประเภทนี้จะสามารถขึ้นรูปได้ด้วยการฉีดขึ้นรูป (injection molding) โดยการทำให้เม็ดพลาสติกอ่อนตัวจนมีลักษณะคล้ายยาสีฟันแล้วฉีดเข้าสู่แม่พิมพ์ 

เทอร์โมพลาสติกจึงเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตชิ้นงานแบบงานฉีดพลาสติก (injection molding) สามารถแบ่งได้คร่าวๆดังต่อไปนี้

  • พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) เป็นเม็ดพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านเข้ามาได้เล็กน้อย อากาศสามารถที่จะผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะทนความร้อน ขุ่น ถูกนมาใช้ในการผลิตท่อน้ำ ถุง ขวด ถัง หรือแท่นรองรับสินค้า
  • พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีความเปราะ โปร่งใส ทนต่อด่างและกรด นำมาใช้สำหรับการทำเครื่องใช้สำนักงาน ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
  • พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) เป็นเม็ดพลาสติกที่มีทนต่อความร้อน ทนต่อสารไขมัน ใช้สำหรับการผลิตหลอดดูดพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร
  •  SAN (styrene-acrylonitrile) เป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส สำหรับการใช้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ABS (acrylonitrile-butadiene-styrene) เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อสารเคมี มีลักษณะที่โปร่งใส เหนียว ใช้สำหรับการผลิตถาด ถ้วน จาน เป็นต้น
  • พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC) เป็นพลาสติกที่มีลักษณะใส สามารถป้องกันได้เป็นอย่างดี ใช้ผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ ขวดไวน์ เบียร์ ขวดสำหรับบรรจุไขมันปรุงอาหารหรือน้ำมัน รวมไปถึงแผ่นพลาสติกต่างๆ
  • พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) เพท พลาสติกรูปบบนี้จะมีลักษณะที่โปร่งใส เหนียวมาก มีราคาสูง ใช้สำหรับทำ แผ่นฟิล์มยืด แผ่นฟิล์มบางๆสำหรับบรรจุอาหาร
  • ไนลอน (Nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียว ทนต่อความร้อนและการเพิ่มอุณหภูมิ ใช้สำหรับทำถุงพลาสติก
  • พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC) เป็นพลาสติกที่มีลักษณะแข็ง โปร่งใส ทนต่อแรงกระแทกและแรงยึก ทนต่อกรดแต่ไม่ทนด่าง สามารถทนต่อความรู้ได้ดี ใช้สำหรับทำถ้วย ชาม จาน ขวดบรรจุอาหารของเด็ก

ชิ้นงานพลาสติก

ประเภทที่ 2: พลาสติกเทอร์โมเซ็ตติ้ง (Thermosetting plastic) 

เทอร์โมเซตติ้ง เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นร่างแห สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและปฏิกริยาทางเคมีได้ดี ไม่เป็นริ้วรอยง่าย แต่ก็ทำให้พลาสติกประเภทนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบหลอมละลายและคืนตัวกลับมาเหมือนประเภทแรก

KEY: เมื่อพลาสติกประเภทนี้สัมผัสอุณหภูมิสูงจะไหม้และโครงสร้างจะถูกทำลายกลายเป็นลักษณะขี้เถ้าสีดำ การจะขึ้นรูปพลาสติกประเภทนี้จึงต้องใช้ความร้อนและแรงอัดค่อนข้างสูงอีกด้วย

เทอร์โมเซตติ้งพลาสติกสามารถแบ่งได้คร่าวๆดังต่อไปนี้

  • เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) เป็นพลาสติกที่มีสมบัติทางเคมี สามารถที่จะทนแรงดัน ทนแรงกระแทก ทนความร้อนและทนปฏิกิริยาได้อย่างดี เกิดรอยเปื้อนและคราบยาก ใช้สำหรับการทำภาชนะบรรจุ ซึ่งจะมีความสวยงามและสีเรียบดูดี
  • ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) เป็นพลาสติกที่สามารถต้านทานต่อตัวที่ทำละลายสายละลายน้ำมันและเกลือ ใช้สำหรับทำหม้อและฝาจุกขวด
  • อีพ็อกซี (epoxy) ใช้สำหรับการเคลือบผิวของอุปกรณ์ที่อยู่ในภายครัวเรือน ใบ้เชื่อมส่วนประกอบต่างๆที่เป็นแก้ว เซรามิกและโลหะ ใช้ในการทำวัสดุซีเมนต์ ปูนขาว และเคลือบผิวถนนเพื่อป้องกันความลื่น
  • พอลิเอสเตอร์ (polyester) ใช้สำหรับการเคลือบผิวพลาสติกประเภทฟิล์มยืดและยาง ขวดน้ำ เส้นใย
  • ยูรีเทน (urethane) เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปของเอทิลคาร์บาเมต
  • พอลิยูรีเทน (polyurethane) ใช้สำหรับการทำกาว พลาสติกและยาง รวมไปถึงน้ำมันชักเงา

thermoplastic

สรุป

โดยสรุปแล้ว พลาสติก เป็นวัสดุที่มีความมหัศจรรย์และนำไปใช้ได้หลากหลายมาก เราสามารถแบ่งประเภทของพลาสติกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 แบบ คือ เทอร์โมพลาสติกที่มีความอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน เมื่อนำไปผลิตเป็นชิ้นงานจะต้องใช้ความเย็นทำให้แข็งตัวก่อนนำออกจากแม่พิมพ์ และสามารถนำมารีไซเคิลได้ 100% และเทอร์โมเซ็ตติ้งพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นแบบร่างแห เมื่อได้รับความร้อนและแรงบีบอัดจะแข็งตัวและไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้

ถึงตาคุณแล้ว 😄

มาถึงตรงนี้เราก็ได้เรียนรู้แล้วว่าพลาสติกทั้งสองประเภทกว้างๆนี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ทำให้มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นชิ้นงานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะศึกษาคุณสมบัติของพลาสิตกประเภทต่างๆเอาไว้เป็นพื้นฐาน ดูตัวอย่างชิ้นงานที่คล้ายคลึงกันและปรึกษาโรงงานผลิตเพื่อที่จะร่วมกันตัดสินใจใช้เม็ดพลาสติกให้ถูกประเภทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนที่ต่ำที่สุดนั่นเอง

โรงงานผลิตพลาสติก ไมตรี อุตสาหกรรม ให้บริการผลิตงานพลาสติกหลายประเภท คุณภาพเยี่ยม

โรงงานผลิตพลาสติก

สนใจการออกแบบชิ้นงานหรือสอบถามรายละเอียด

หรือ ช่องทาง social media คลิ๊กเพื่อรับคำปรึกษาได้ทุกเวลา!